PICHAI PONGSASAOVAPARK

พิชัย พงศาเสาวภาคย์PICHAI PONGSASAOVAPARK พิชัย พงศาเสาวภาคย์ เกิดที่สงขลา ในปี พ.ศ. 2506  จบการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาจิตรกรรมที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และยังศึกษาในหลักสูตรภัณฑารักษ์ศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรด้านพิพิธภัณฑ์และแกลเลอรีศึกษาในปี พ.ศ. 2558 ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (California State University) สหรัฐอเมริกาในปีเดียวกัน พิชัยเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ทั้งงานจิตรกรรมนามธรรม สื่อประสม และภาพถ่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันผลงานของเขาเริ่มเด่นชัดในประเด็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ผลงานของพิชัยอยู่ในการสะสมของรัฐและเอกชน เช่น มูลนิธิลูเซียโน เบเนตอง (Luciano Benetton) ในมิลาน อิตาลี สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาในวอชิงตันดีซี และองค์การสหประชาชาติในกรุงเทพฯ ประเทศไทย เป็นต้น พิชัยมีนิทรรศการเดี่ยวและกลุ่มอย่างต่อเนื่อง นอกจากการทำงานศิลปะที่แสดงถึงความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว พิชัยยังเป็นวิทยากรรับเชิญให้กับสถาบันการศึกษาหลายครั้ง โดยเฉพาะการได้รับเชิญเพื่อเข้าร่วมเป็นผู้อภิปรายในการประชุมหัวข้อ ASEAN Enhancing People to People Connectivity: Contemporary Arts, Design Education, Intellectual Property and Cultural Exchange จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้น  PICHAI PONGSASAOVAPARK – Opening Performance แนวความคิด จากความสนใจในการผสานวิธีการทำงานศิลปะหลายๆ แขนงเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ จิตรกรรม สื่อแสดงสด รวมถึงศิลปะการจัดวาง สำหรับนิทรรศการในครั้งนี้ พิชัย พงศาเสาวภาคย์ ต้องการที่จะบอกเล่าเรื่องราวปัญหาของเกษตรเชิงเดี่ยวที่เป็นส่วนสำคัญของปัญหาฝุ่นควัน โดยสินค้าการเกษตรส่วนหนึ่งจะถูกรถบดอัดถนน บีบอัดลงบนผืนผ้าใบ โดยกระบวนการนี้เป็นการหยอกล้อไปกับวิธีการทำลายของกลางที่ผิดกฏหมายในกระบวนการยุติธรรม แต่ในอีกนัยหนึ่งการบีบอัดนั้นก็ยังอุปมาไปถึงเกษตรกรที่ถูกกดทับจากทุนนิยมให้แทบไม่มีทางเลือกในการทำอาชีพการเกษตรเช่นกัน กระบวนการแสดงสดนี้จะเป็นการตั้งคำถามถึงโครงสร้างของการเกษตรในมหภาค และการจัดการของบริษัทขนาดใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังฝุ่นควัน pm 2.5 โดยนอกจากการแสดงสดแล้ว วัตถุที่ได้จะถูกนำไปจัดวางในนิทรรศการต่อไป  สถานที่แสดงผลงานโกดังจริงใจของกลุ่มเซ็นทรัล สนับสนุนโดย

ddmy

13 February 2021

PIYARAT PIYAPONGWIWAT

ปิยะรัศมิ์ ปิยะพงศ์วิวัฒน์PIYARAT PIYAPONGWIWAT ปิยะรัศมิ์ ปิยะพงศ์วิวัฒน์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2520 ในจังหวัดแพร่ จบการศึกษา ระดับปริญญาตรีจาก Ecole Supérieure des Beaux-Arts de Montpellier Agglomération ประเทศฝรั่งเศส ปิยะรัศมิ์ทํางานกับสื่อหลากหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว หรือผลงานจัดวาง ครอบคลุมเรื่องเพศ คนชายขอบ รวมไปถึงการวิพากษ์ค่านิยมหรือประเพณีดั้งเดิมในสังคม โดยในปี พ.ศ. 2559 Southeast Asia Globe เลือกให้เธอเป็น 1 ใน 5 ศิลปินร่วมสมัยที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การทํางานของเธอมุ่งสู่ความเป็นสารคดี ตั้งคำถามถึงเงื่อนไขและนัยยะของประเด็นทางสังคมทั้งหลาย ปิยะรัศมิ์ไม่เพียงใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อการบันทึกจัดเก็บเท่านั้น หากแต่ยังเป็นความพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงโลกอันเชื่อมโยงสัมพันธ์กันผ่านเสียงของปัจเจก ปิยะรัศมิ์มีผลงานจัดแสดงงานท้ังในระดับภูมิภาคและระดับประเทศไม่ว่าจะเป็น the 6th Asian Art Biennial: Negotiating the Future, ประเทศไต้หวัน the 12th Gwangju Biennale: Imagined Borders ประเทศเกาหลีใต้ และ Seismograph: Sensing the City – Art in the Urban Age, Art Stage ประเทศสิงคโปร์ งานของเธอถูกจัดเก็บเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง เช่น Singapore Art Museum และ Maiiam Contemporary Art Museum   ART FOR AIR Interview VDO แนวความคิด จากกรณีข้อมูลศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาตร์ […]

ddmy

13 February 2021

KAWITA VATANAJYANKUR

กวิตา วัฒนะชยังกูลKAWITA VATANAJYANKUR เกี่ยวกับศิลปิน / About กวิตา วัฒนะชยังกูร เกิดที่ กรุงเทพฯ จบการศึกษาจาก RMIT University (BA, Fine Art) ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2554 เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานวิดีโอและศิลปะแสดงสด ที่ถ่ายทอดภาพการแสดงโดยใช้ร่างกายของตัวเธอเองประกอบกิจกรรมพิสดารเพื่อเลียนแบบเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านที่ผู้หญิงต้องใช้งานในชีวิตประจำวันเพื่อล้อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร และเปิดเผยร่างกายของแรงงานสตรีที่ถูกหลงลืมในโลกของเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว กวิตามีผลงานแสดงเดี่ยวและกลุ่มหลายครั้ง โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2558 เธอได้รับรางวัลเข้ารอบสุดท้ายในรางวัล Jaguar Asia Pacific Tech Art Prize และได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมนิทรรศการ Thailand Eye ที่ Saatchi Gallery ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้รับการคัดสรรให้ร่วมใน Alamak! Pavilion ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปินหน้าใหม่ที่น่าจับตา ในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 57 ในปี พ.ศ. 2560 รวมถึงงาน Asia Triennale of Performing Arts ที่ Melbourne Arts Centre และได้ร่วมแสดงผลงานในเทศกาลศิลปะ Bangkok Art Biennale 2018 ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้น  Kawita Vattanachayangkul is a native of Bangkok, Thailand. She completed her undergraduate education from the RMIT University […]

ddmy

13 February 2021

Template Artist Full

ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์THAIWIJIT PUENGKASEMSOMBOON ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ เกิดปี พ.ศ. 2502 ที่ จ.ปัตตานี จบการศึกษาด้านภาพพิมพ์ จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับทุนการศึกษาจาก Academia Sztuk Pieknych ในเมืองคราคุฟ (Krakow) ประเทศโปแลนด์ ถือเป็นศิลปินไทยคนแรกที่เข้าเรียนที่นั่น ไทวิจิตเป็นศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา ผลงานของเขาคว้ารางวัลระดับชาติ และยังมีผลงานจัดแสดงทั้งเดี่ยวและกลุ่มอยู่เสมอในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันไทวิจิตพำนักและทำงานในเมืองเชียงใหม่ เป็นศิลปินแนวนามธรรมที่โดดเด่นด้วยการใช้วัสดุที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนสิ่งของเหลือใช้อย่างโลหะ แผ่นไม้ กระดาษลัง ผ้ากระสอบ หรือปูน ให้กลายเป็นงานศิลปะที่เต็มไปด้วยจิตนาการและความสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรม ประติมากรรมสื่อประสมของเขานั้นเป็นต้นแบบของทั้งศิลปินรุ่นหลัง และนักออกแบบหลายๆ คน โดยเฉพาะการทำลายกรอบของความคิดในการใช้วัสดุ สุนทรียภาพแบบไทวิจิตจึงเต็มไปด้วยความเป็นไปได้ใหม่ๆ และไม่จำกัดตัวเองอยู่บนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ART FOR AIR Interview VDO แนวความคิด ต่อเนื่องจากผลงานชุด “หนีเสือปะจระเข้” ที่ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ ได้ร่วมแสดงในเทศกาล Bangkok art biennale 2020 ที่ผ่านมา ในนิทรรศการครั้งนี้ เขาได้สร้างประติมากรรมจากเศษโลหะเหลือใช้ที่เล่นกับสำนวนไทยที่หมายถึงการหลบหนีจากภัยอันตรายหนึ่งเพื่อไปพบกับอีกหนึ่งภัยอันตราย ซึ่งเป็นอุปมาที่ศิลปินกล่าวถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เมื่อเราพยายามที่จะแก้ปัญหาหนึ่ง แต่ในบางครั้งกลับไปเพิ่มปัญหาใหม่เข้ามาแทนที่ ประติมากรรมที่สามารถใส่ขยะได้หล่านี้ เป็นการช่วยเตือนถึงภัยในโลกปัจจุบัน เมื่อเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทรัพยากรได้ถูกใช้ด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เรากำลังอยู่ตรงทางแยกของอนาคต พยายามคิดค้นวิธีที่จะช่วยเหลือสภาพแวดล้อมด้วยความคิดที่ก้าวล้ำ และซับซ้อน แต่ในอันที่จริง ผลงานของไทวิจิตอาจจะกำลังเป็นการเสนอความคิดที่เรียบง่าย และทุกคนสามารถทำได้เพียงแค่ใช้จิตสำนึกในการทิ้งวัตถุสิ่งของ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่นั่นเอง สถานที่แสดงผลงานบริเวณรอบนอกพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา สนับสนุนโดย

ddmy

13 February 2021

DDMY

ดีดีเอ็มวาย สตูดิโอddmy studio เกี่ยวกับศิลปิน / About ddmy studio คือ สตูดิโอที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว เสียง และ Interactive โดยทำงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นหลัก ก่อตั้งโดย ณครินทร์ รอดพุฒ และ อาระยา สุวรรณ ราวปี 2010 ddmy studio ยังทำงานร่วมกับ ศิลปิน ภาคเอกชน และ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรต่าง ๆ ทั้งในเชียงใหม่และพื้นที่อื่น ๆ ในหลาย ๆ ส่วนของประเทศ เพื่อผลิตผลงานสื่อด้านอื่น ๆ อีกด้วย จากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ของผู้ชมมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ทีมงานเกิดความสนใจในด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาออกแบบสิ่งประดิษฐ์ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยมุ่งเน้นให้เกิดข้อเสนอแนะ การแก้ปัญหา การทดลอง หรือแม้แต่การสร้างบทสนทนาระหว่างผู้ชม ที่จะนำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ต่อการสร้างสรรค์เชิงศิลปะวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี DDMY Studio is a professional team […]

ddmy

12 February 2021

breathcouncil

กระบวนการแก้ปัญหาฝุ่นควันอย่างยั่งยืน:บทเรียนสภาลมหายใจเชียงใหม่ ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ การเปลี่ยนจากการโทษกันไปโทษกันมา แล้วรู้ว่าทุกคนล้วนเป็นผู้ก่อฝุ่นควัน pm2.5 และทุกคนล้วนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นควัน จึงต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา มาสู่การเชื่อมโยงพลังกันของทุกภาคส่วนเป็นสิ่งสำคัญ กระบวนการสำคัญ คือการเชื่อมโยงพลังของทุกภาคี ในภาคประชาชน ชุมชน ประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ ศิลปิน และสาธารณชนต่างๆ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับภาครัฐ และองค์กรปกครองท้องถิ่น การปรับวิธีคิดวิธีการมองแบบการมองเห็นช้างคนละมุม จากความชำนาญหรือประสบการณ์ของตน จึงไม่เห็นปัญหาทั้งระบบของPM2.5 มาสู่การทำงานร่วมกันเรียนรู้ร่วมกันทำให้เริ่มมองเห็นสาเหตุและเข้าใจภาพรวมของปัญหา และตระหนักถึง ความซับซ้อนของปัญหา PM2.5 ว่าเป็นปัญหาในทุกระดับทั้งระดับชุมชน ระดับชาติ นานาชาติและระดับโลก จนกระทั่งเกิดการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน เช่นลดPM2.5 ให้ได้ในทุกสาเหตุ เพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นฟูระบบนิเวศให้ดีขึ้น จากนั้นก็มีการแบ่งการทำงานตามศักยภาพของแต่ละภาคส่วน จัดกลุ่มงานออกเป็นส่วนๆเพื่อไปเชื่อมโยงการแก้ปัญหาฝุ่นควันในทุกสาเหตุ และมีข้อเสนอในการ แก้ปัญหาที่เป็นไปได้และสร้างสรรค์ เปลี่ยนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในลักษณะอุบัติภัย มาตลอด ๑๔ ปี โดยตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน ในช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค. เพื่อร่วมดับไฟที่เกิดในช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. มาเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนที่ต้นเหตุทุกสาเหตุ โดยมีแผน ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวรองรับการทำงานต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งปี เปลี่ยนการแก้ปัญหาจากการฟังคำสั่งจากส่วนกลางส่งมายังจังหวัด อำเภอ […]

ddmy

11 February 2021

PEN-EK RATANARUANG

เป็นเอก รัตนเรืองPEN-EK RATANARUANG เกี่ยวกับศิลปิน / About เป็นเอก รัตนเรือง เกิดปี พ.ศ. 2505 ที่กรุงเทพฯ เป็นผู้กำกับและนักเขียนบทภาพยนตร์ เติบโตมาจากวงการกำกับภาพยนตร์โฆษณา จัดว่าเป็นหนึ่งในคนทำหนังคลื่นลูกใหม่ ร่วมกับ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง และ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เป็นเอกจบการศึกษาจาก Pratt Institute เมืองนิวยอร์กในปี พ.ศ. 2528 ได้ทำงานเป็นนักวาดภาพประกอบ และนักออกแบบอิสระ ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 เข้าทำงานที่ ฟิล์มแฟ็กตอรี่ กำกับภาพยนตร์โฆษณาและได้รับรางวัลมากมาย หนึ่งในนั้นมีรางวัลเหรียญทองแดงของ Cannes Lion Awards ในปี พ.ศ. 2540 ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ เป็นเอกมีผลงานที่สำคัญมากมายอย่าง ฝัน บ้า คาราโอเกะ, เรื่องตลก 69, มนต์รักทรานซิสเตอร์ เป็นต้น โดยเฉพาะสำหรับภาพยนตร์ เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล เป็นเอกได้ร่วมงานกับปราบดา หยุ่น คริสโตเฟอร์ ดอยล์ และอาซาโน่ ทาดาโนบุ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส และเป็นภาพยนตร์ที่ประเทศไทยส่งไปชิงรางวัลออสการ์ในปี พ.ศ. 2546 และในปี พ.ศ. 2547 เป็นเอกได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาภาพยนตร์ โดยสํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Pen-ek Ratanaruang was born in 1962 […]

ddmy

31 January 2021

THAIWIJIT PUENGKASEMSOMBOON

ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์THAIWIJIT PUENGKASEMSOMBOON เกี่ยวกับศิลปิน / About ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ เกิดปี พ.ศ. 2502 ที่ จ.ปัตตานี จบการศึกษาด้านภาพพิมพ์ จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับทุนการศึกษาจาก Academia Sztuk Pieknych ในเมืองคราคุฟ (Krakow) ประเทศโปแลนด์ ถือเป็นศิลปินไทยคนแรกที่เข้าเรียนที่นั่น ไทวิจิตเป็นศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา ผลงานของเขาคว้ารางวัลระดับชาติ และยังมีผลงานจัดแสดงทั้งเดี่ยวและกลุ่มอยู่เสมอในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันไทวิจิตพำนักและทำงานในเมืองเชียงใหม่ เป็นศิลปินแนวนามธรรมที่โดดเด่นด้วยการใช้วัสดุที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนสิ่งของเหลือใช้อย่างโลหะ แผ่นไม้ กระดาษลัง ผ้ากระสอบ หรือปูน ให้กลายเป็นงานศิลปะที่เต็มไปด้วยจิตนาการและความสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรม ประติมากรรมสื่อประสมของเขานั้นเป็นต้นแบบของทั้งศิลปินรุ่นหลัง และนักออกแบบหลายๆ คน โดยเฉพาะการทำลายกรอบของความคิดในการใช้วัสดุ สุนทรียภาพแบบไทวิจิตจึงเต็มไปด้วยความเป็นไปได้ใหม่ๆ และไม่จำกัดตัวเองอยู่บนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง Thaiwijit Puengkasemsomboon was born in the year 1959 in the Pattani province. He graduated from the Faculty of Paintings, Sculptures, and Press Printing, Silpakorn University, with a specialization in press […]

ddmy

31 January 2021

KAMIN LERTCHAIPRASERT

คามิน เลิศชัยประเสริฐKAMIN LERTCHAIPRASERT เกี่ยวกับศิลปิน / about คามิน เลิศชัยประเสริฐ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2507 ที่ลพบุรี ประเทศไทย สำเร็จการศึกษาในระดับศิลปบัณฑิต (ภาพพิมพ์) มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2530 ย้ายไปศึกษาและใช้ชีวิตในเมืองนิวยอร์กช่วงปี พ.ศ.2532 คามินเข้าศึกษาที่ The Art Student League of New York และกลับมาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2535 และย้ายมาอาศัยที่เชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2539 ได้ร่วมก่อตั้งโครงการ The Land ร่วมกับฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช (ปัจจุบันคือมูลนิธิที่นา) ซึ่งเป็นพื้นที่สร้างสรรค์และเน้นการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการเกษตรและงานศิลปะร่วมสมัย ความสนใจในปรัชญาชีวิตและศิลปะของคามินนำไปสู่การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 31 ในปี พ.ศ. 2551 สำหรับคามินศิลปะ คือ การประกอบพิธีกรรมที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจในตนเอง ธรรมชาติ และโลกมากขึ้น คามินมีผลงานจัดแสดงเดี่ยวและกลุ่มอย่างต่อเนื่อง […]

ddmy

31 January 2021

Kawita Vatanajyankur

กวิตา วัฒนะชยังกูล กวิตา วัฒนะชยังกูร เกิดที่ กรุงเทพฯ จบการศึกษาจาก RMIT University (BA, Fine Art) ประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2554 เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานวิดีโอและศิลปะแสดงสด ที่ถ่ายทอดภาพการแสดงโดยใช้ร่างกายของตัวเธอเองประกอบกิจกรรมพิสดารเพื่อเลียนแบบเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านที่ผู้หญิงต้องใช้งานในชีวิตประจำวันเพื่อล้อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร และเปิดเผยร่างกายของแรงงานสตรีที่ถูกหลงลืมในโลกของเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว กวิตามีผลงานแสดงเดี่ยวและกลุ่มหลายครั้ง โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2558 เธอได้รับรางวัลเข้ารอบสุดท้ายในรางวัล Jaguar Asia Pacific Tech Art Prize และได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมนิทรรศการ Thailand Eye ที่ Saatchi Gallery ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้รับการคัดสรรให้ร่วมใน Alamak! Pavilion ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปินหน้าใหม่ที่น่าจับตา ในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 57 ในปี พ.ศ. 2560 รวมถึงงาน Asia Triennale of Performing Arts ที่ Melbourne Arts Centre และได้ร่วมแสดงผลงานในเทศกาลศิลปะ Bangkok Art Biennale 2018 ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้น แนวความคิด กวิตา วัฒนะชยังกูร เป็นที่รู้จักจากงานวิดีโอสื่อแสดงสด ที่สะกดผู้ชมด้วยการแสดงอันพิสดารของเธอในฉากการถ่ายทำสีสดใส ผลงานของกวิตามักจะเป็นการสํารวจขีดจํากัดทางร่างกายและจิตผ่านการแสดง โดยในผลงานวิดีโอการแสดงชุดใหม่ของกวิตา ที่มีชื่อว่า “Air” เธอได้สร้างผลงานชื่อ Vacuum ที่ยังเป็นการใช้ร่างกายแทนสิ่งของอย่างต่อเนื่อง ผลงานชิ้นนี้กวิตาอยู่ในบทบาทคล้ายเครื่องดูดฝุ่นเพื่อจัดการกับสภาพอากาศเสีย ภายในวิดีโอ 4 จอของเธอเป็นการแสดงเพื่อการตีความถึงปอดที่กำลังทำงานสูบอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นภายในโครงสร้างของพื้นที่เสมือนภายในบ้าน กับร่างกายที่ทำหน้าที่เป็นภาชนะ การตกแต่งภายในบ้านมีลักษณะคล้ายกับอวัยวะภายในอย่างปอดของมนุษย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือบ้านที่สร้างขึ้นนั้นก็คือร่างกายมนุษย์นั่นเอง ผลงานของเธอจึงแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ในปัจจุบันที่เราจะต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับฝุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถานที่แสดงผลงาน

ddmy

30 January 2021
1 6 7 8