Kawita Vatanajyankur

กวิตา วัฒนะชยังกูล กวิตา วัฒนะชยังกูร เกิดที่ กรุงเทพฯ จบการศึกษาจาก RMIT University (BA, Fine Art) ประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2554 เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานวิดีโอและศิลปะแสดงสด ที่ถ่ายทอดภาพการแสดงโดยใช้ร่างกายของตัวเธอเองประกอบกิจกรรมพิสดารเพื่อเลียนแบบเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านที่ผู้หญิงต้องใช้งานในชีวิตประจำวันเพื่อล้อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร และเปิดเผยร่างกายของแรงงานสตรีที่ถูกหลงลืมในโลกของเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว กวิตามีผลงานแสดงเดี่ยวและกลุ่มหลายครั้ง โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2558 เธอได้รับรางวัลเข้ารอบสุดท้ายในรางวัล Jaguar Asia Pacific Tech Art Prize และได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมนิทรรศการ Thailand Eye ที่ Saatchi Gallery ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้รับการคัดสรรให้ร่วมใน Alamak! Pavilion ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปินหน้าใหม่ที่น่าจับตา ในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 57 ในปี พ.ศ. 2560 รวมถึงงาน Asia Triennale of Performing Arts ที่ Melbourne Arts Centre และได้ร่วมแสดงผลงานในเทศกาลศิลปะ Bangkok Art Biennale 2018 ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้น แนวความคิด กวิตา วัฒนะชยังกูร เป็นที่รู้จักจากงานวิดีโอสื่อแสดงสด ที่สะกดผู้ชมด้วยการแสดงอันพิสดารของเธอในฉากการถ่ายทำสีสดใส ผลงานของกวิตามักจะเป็นการสํารวจขีดจํากัดทางร่างกายและจิตผ่านการแสดง โดยในผลงานวิดีโอการแสดงชุดใหม่ของกวิตา ที่มีชื่อว่า “Air” เธอได้สร้างผลงานชื่อ Vacuum ที่ยังเป็นการใช้ร่างกายแทนสิ่งของอย่างต่อเนื่อง ผลงานชิ้นนี้กวิตาอยู่ในบทบาทคล้ายเครื่องดูดฝุ่นเพื่อจัดการกับสภาพอากาศเสีย ภายในวิดีโอ 4 จอของเธอเป็นการแสดงเพื่อการตีความถึงปอดที่กำลังทำงานสูบอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นภายในโครงสร้างของพื้นที่เสมือนภายในบ้าน กับร่างกายที่ทำหน้าที่เป็นภาชนะ การตกแต่งภายในบ้านมีลักษณะคล้ายกับอวัยวะภายในอย่างปอดของมนุษย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือบ้านที่สร้างขึ้นนั้นก็คือร่างกายมนุษย์นั่นเอง ผลงานของเธอจึงแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ในปัจจุบันที่เราจะต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับฝุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถานที่แสดงผลงาน

ddmy

30 January 2021

TAWATCHAI PUNTUSAWASDI

ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์TAWATCHAI PUNTUSAWASDI เกี่ยวกับศิลปิน / About ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ เกิดที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2514 จบการศึกษาในระดับศิลปบัณฑิต (ประติมากรรม) จากคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2536 และปริญญาโทจากคณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2544 ธวัชชัย เคยได้รับรางวัลสำคัญๆ เช่น รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม จากศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ในปี พ.ศ. 2536 รางวัลชนะเลิศ ประติมากรรม OSAKA Triennale Bureau ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2538 รางวัลทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 15 ในปี 2558 และได้รับเลือกให้เข้าร่วมแสดงผลงานใน The 21st Biennale of Sydney ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้น ผลงานประติมากรรมของธวัชชัย ว่าด้วยการสร้างรูปลักษณ์จำลองสามมิติจากการรับรู้ด้วยผัสสะ ด้วยการผสมข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเห็นและเชื่อว่าเป็นการเข้าถึงความจริงของสิ่งต่างๆ เช่น ทัศนียวิทยา คณิตศาสตร์ ผสมผสานกับกระบวนการเชิงช่าง ผลงานของเขาเป็นที่รู้จักกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ ด้วยประติมากรรมที่มีรูปทรงสลับซับซ้อน ผ่านการคำนวณอย่างแม่นยำ บวกกับฝีมือเชิงช่างอันประณีต ปัจจุบันธวัชชัยพำนักและทำงานในจังหวัดเชียงใหม่    Tawatchai Puntasawasdi was born in Bangkok in 1971. He completed his Bachelors of Art in Sculpture from Chiang Mai University’s Faculty of Fine […]

ddmy

30 January 2021

KengKij

เปิดผัสสะไปสู่บรรย(อ)ากาศ1 เก่งกิจ กิติเรียงลาภ  อากาศหรือบรรยากาศก็คือเงื่อนไขการดำรงอยู่พื้นฐานของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทว่าในความคิดแบบตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับการเห็นหรือดวงตาก็ทำให้ผัสสะอื่นๆ บดบังความรับรู้ที่เรามีต่อโลก นักคิดในสายสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะพวกที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) อย่าง Juhani Pallasmaa, Peter Zumthor และ Gernet Böhme2 กลับให้ความสำคัญกับการสัมผัส (touch) ในฐานะที่เป็นพื้นฐานของผัสสะอื่นๆ นักทฤษฎีสถาปัตยกรรมเหล่านี้เสนอมโนทัศน์ “บรรยากาศ” หรือ atmosphere เพื่อคัดง้างกับมโนทัศน์ว่าด้วย “พื้นที่” (space) ซึ่งสอดคล้องกับ Tim Ingold ที่ชี้ให้เห็นว่ามโนทัศน์สถานที่นั้นสร้างปัญหาใหญ่หลวง โดยเฉพาะการทำให้เรากับสถานที่เป็นสิ่งที่แยกจากกันอย่างเด็ดขาดมากเกินไป3   Pallasmaa เริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการสัมผัสกับการเห็น ในขณะที่การเห็นใช้ดวงตา แต่การสัมผัสกลับใช้ผิวหนังหรือ skin ซึ่งภายใต้วิธีคิดที่ยกให้ดวงตาเป็นใหญ่แบบ Ocularcentrism ผิวหนังไม่สามารถเห็นได้ แต่สำหรับ Pallasmaa แล้ว “พวกเราจะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ผ่านผิวหนังของเรา”4 แน่นอนว่าสำหรับเด็กทารกที่ตาเนื้อยังไม่เปิด พวกเขาสัมผัสโลกผ่านการสัมผัสด้วยผิวหนังซึ่งเต็มไปด้วยความร้อน เย็น แข็ง หรืออ่อนนุ่ม หากปราศจากการสัมผัสของผิวหนังแล้ว ทารกจะไม่มีทางเรียนรู้ที่จะใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ของตนเองได้ การสัมผัสซึ่งเชื่อมต่อระหว่างร่างกายของเรากับสิ่งที่อยู่ภายนอกผ่านหน้าจอของผิวหนังก็คือจุดที่ทั้งเชื่อมต่อเรากับโลก พร้อมๆ กับที่มันก็แยกเราออกจากโลกและคนอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน เมื่อทารกเติบโตขึ้นผ่านการเปิดตาเนื้อ พวกเขาจะเริ่มมองเห็นสิ่งต่างๆ และถูกสอนให้ใช้ตามากขึ้นในการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ความต่างระหว่างการใช้ตากับการสัมผัสด้วยผิวหนังจึงสามารถถูกเข้าใจได้ในฐานะตัวตน 2 ระดับ นั่นคือ ตัวตนในระดับจิตไร้สำนึกหรือ unconsciousness กับตัวตนที่เราสำนึกรู้ (consciousness) ซึ่งในระดับของการสำนึกรู้ได้ก่อรูปร่างของตัวตนและอัตตาของตัวเราให้แยกขาดออกจากผัสสะอื่นๆ และการสัมผัสด้วยผิวหนัง ส่งผลให้การสัมผัสด้วยผิวหนังถูกผลักให้ถอยห่างออกจากสถานะอันเป็นพื้นฐานจุดตั้งต้นของผัสสะอื่นๆ ที่ตามมาภายหลัง ซึ่ง Pallasmaa ชี้ว่า การสถาปนาอำนาจของดวงตาและความเป็นตัวเป็นตนของจิตสำนึกได้ทำให้การสัมผัสด้วยผิวหนังอยู่ในสถานะของ “ชายขอบ” (periphery) ส่วนดวงตากลับกลายมามีสถานะเป็นศูนย์กลาง (center)  อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสกับการเห็นก็มิได้มีความเป็นสากล ในสังคมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตะวันตกนั้นกลับมิได้ผลักไสการสัมผัสด้วยผิวหนังออกไปให้เป็นชายขอบ มีเพียงสังคมตะวันตกเท่านั้นที่ก่อรูปความรู้ของตนเองขึ้นมาผ่านการสถาปนาอำนาจของดวงตาให้เป็นศูนย์กลางเพียงหนึ่งเดียว5 ดังที่ Peter Sloterdijk ชี้ว่า “ดวงตาหรือการเห็นก็คืออวัยวะต้นแบบของวิชาปรัชญา ความลึกลับของดวงตานั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากที่มันสามารถมองเห็นได้เท่านั้น ทว่ามันยังสามารถมองเห็นว่าตัวมันเองกำลังมองเห็นได้ด้วย นี่คือสาเหตุที่ดวงตามีความพิเศษเหนืออวัยวะรับรู้อื่นๆ ของร่างกาย ส่วนประกอบสำคัญของการคิดเชิงปรัชญาก็คือ ภาพที่สะท้อนในดวงตา การมองกลับไปกลับมากับตัววัตถุที่ถูกมอง และการมองเห็นว่าตัวเองกำลังเห็น… การเห็นว่าตัวเองเห็นก็ทำให้สิ่งต่างๆ ปรากฏได้”6 ในแง่นี้ “การเห็นว่าตัวเองเห็น” (seeing-oneself see) ก็คือคุณสมบัติสำคัญของวิธีคิดแบบตะวันตกที่สถาปนาดวงตาขึ้นมาในฐานะเครื่องมมืออันประเสริฐสูงสุดของการเห็นเหนือผัสสะอื่นๆ พร้อมๆ กับที่การเห็นว่าตัวเองเห็นก็มิได้ไม่เพียงแค่การเห็นตัววัตถุภายนอกที่ตาเห็นเท่านั้น แต่กลับเป็นการเห็นตัวเอง “การเห็นตัวเอง” […]

ddmy

18 January 2021

ArtforAir06012021

Art for Air จากฝุ่นควันสู่วิกฤติสภาวะโลกร้อน เมื่อเราพูดถึงปัญหาเรื่อง “ฝุ่นควันสู่วิกฤติสภาวะโลกร้อน” ทำให้เรานึกถึงวิถีการดำเนินชีวิตแนวใหม่ของประชากรโลก (new normal) การเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาด (Covid-19) ที่ทำให้เราทุกคนต้องตระหนักถึงการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตอย่างมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม การเมือง ทุกสิ่งทุกอย่างหยุดลงอย่างกระทันหัน หยุดการผลิตและการเดินทางทั่วโลก (lockdown) เป็นเหมือนสภาพสุญญากาศ สภาวะว่างเปล่าที่ทำให้ทุกคนต้องกลับมาคิดทบทวนและตั้งคำถามว่า มนุษย์ได้พาโลกมาถึงจุดวิกฤตินี้ได้อย่างไร? เราเห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาโรคระบาดเพราะมันเป็นรูปธรรม เราจึงเห็นถึงการร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เรากลับละเลยในการร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาวิกฤติสภาวะโลกร้อน เพราะมันดูเหมือนเป็นนามธรรมหรือเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งเราเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะแท้จริงแล้วมันเป็นปัญหาที่ใก้ลตัวมาก จนเราไม่รู้สึกตัวหรือจะพูดอีกอย่างว่ามันเป็นปัญหาที่อยู่ภายในตัวเราทุกคนตลอดเวลา หรือที่เรียกว่าการตายผ่อนส่ง เช่น เรื่องของอากาศเป็นพิษ PM2.5 ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ขาดความแข็งแรงทำเกิดโรคติดต่อได้ง่าย และ น้ำเสีย นำ้ท่วม ไฟป่า ภัยพิบัติต่างๆ เกิดจากการสูญเสียระบบนิเวศ มนุษย์เรามีความจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 ํC มิเช่นนั้น สภาพอากาศจะเสียหายถาวร IPCC, 2018 จากข้อมูลงานวิจัย IPCC ปี 2018 กล่าวว่ามนุษย์เรามีความจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 ํC (ขณะนี้เพิ่มไปแล้วเป็น 1.1 […]

ddmy

6 January 2021
1 7 8